วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบการบริหารจัดการองค์การ TQM

ระบบการบริหารจัดการองค์การ  TQM
TQM คือ ระบบการบริหารจัดการองค์การที่ เน้นคุณภาพในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ กิจกรรมขององค์การ โดยบุคลากรทุกคนในองค์การให้ความร่วมมือและร่วมกันรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
คำว่า TQM
T (Total) : การยินยอมให้ทุกคนปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริหารงานระบบคุณภาพ ซึ่งเกี่ยวกับทั้งลูกค้าภายนอก (external customer) และลูกค้าภายใน (internal customer) โดยตรง
Q (Quality) : การสร้างความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเป็นหลัก นอกจากนี้คุณภาพยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ (systematic approach of management) กล่าวคือ การกระทำสิ่งใด ๆ อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องและตรงตามแนวความคิดดั้งเดิมของวงจรคุณภาพที่เรียกว่า PDCA cycle ซึ่งเสนอรายละเอียดโดย W.Edwards Deming
M (Management) : ระบบของการจัดการหรือบริหารคุณภาพขององค์การ ซึ่งดำเนินการและควบคุมด้วยระดับผู้บริหารสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision) การประกาศพันธกิจหลัก (mission statement) และกลยุทธ์ของการบริหาร (strateship management) รวมถึงการแสดงสภาวะของความเป็นผู้นำ (leadership) ที่จะมุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาระบบคุณภาพขององค์การอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา (continuous quality improvement)
TQM กับการศึกษา
ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดังเช่นปัจจุบันได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายด้าน ทั้งการเมือง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ถึงระบบการศึกษาก็ไม่หลีกพ้นไปจากผลกระทบดังกล่าวและเท่าที่ปรากฏผลออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ก็คือ           1. พ่อแม่ผู้ปกครองล้วนสงสัยว่า ลูกหลานของตนที่ส่งเข้าเรียนหนังสือเพื่อหาความรู้ ตามสถาบันการศึกษาทุกระดับ (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย) จะสามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพประกอบด้วยความรู้อย่างแท้จริงขึ้นมาได้หรือไม่          2. นักเรียนและนักศึกษาก็กริ่งเกรงใจเช่นเดียวกันว่า เมื่อจบการศึกษาในระดับต่าง ๆ และออกไปสู่โลกภายนอกแล้ว ตัวเองจะมีคุณภาพและความสามารถเพียงพอ หรือไม่ต่อการไปสมัครเพื่อหางานทำในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน          3. ผู้ประกอบการทางธุรกิจและอุตสาหกรรม ก็จะถามไถ่อยู่เสมอในฐานะที่เป็นผู้จ้างงานว่าต้องการได้บัณฑิตที่จบออกมาประกอบด้วยคุณภาพของความรอบรู้ความเก่ง การขยันสู้งาน รวมถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมปรากฏอยู่ในระดับสูง          4. สังคมก็คาดหวังอีกเช่นกันว่า เมื่อประชาชนอยู่ในฐานะผู้เสียภาษีได้แก่รัฐบาลโดยตรงจะมีวิธีการปฏิบัติเช่นใดจึงจะเข้ามามีบทบาท และแสดงส่วนร่วมในการจัดการด้านการศึกษาพร้อมทั้งสามารถตรวจสอบความโปร่งใสด้านคุณภาพของบัณฑิตโดยตรง          รายละเอียดที่กล่าวมานี้ทั้งหมดไม่พ้นไปจากคำว่า คุณภาพ (quality) ระบบของการจัดการแบบมีคุณภาพ (Quality Management System : QMS) หรือ ในด้านการศึกษาก็มีการเรียกร้องกันมากในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษา (quality assurance) เป็นต้น
TQM สำหรับสถาบันการศึกษา
1. การพิจารณา TQM การรวมที่เป็นแนวคิดเชิงระบบ (systematic approach)
2. เมื่อพิจารณาจากหน่วยโครงสร้างของกิจกรรมคุณภาพหลัก (basic quality units) Feigenbaum
การนำ TQM ไปใช้
การนำ TQM ไปประยุกต์ใช้ กับการจัดการคุณภาพการศึกษาให้ประสบความ สำเร็จผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรดำเนินการดังนี้          1. สร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องของคุณภาพ ให้กับบุคลากรทุกคนทุกระดับ          2. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติให้ชัดเจน มีนโยบายที่ เน้นเรื่องคุณภาพ          3. เปลี่ยนแนวความคิดเก่า ๆ ของทุกคนเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ          4. องค์กรต้องมีปรัชญาเรื่องของคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ มีค่าในหน่วยงาน          5. ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนและแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม          6. เน้นเรื่องการฝึกอบรม          7. เน้นการทำงานเป็นทีม

                            นายจิรศักดิ์  แห้วไธสง และนายมนัส  เคลื่อนไธสง  เรียบเรียง

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเพณีลอยกระทง



ลูกเสือ


ลูกเสือ - เนตรนารี  ทำกิจกรรมตามฐานต่าง ๆ
  
แต่งหน้าให้ลูกเสือสำรอง
 
ทำพิธีบวงสรวงพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


นัดหมายการเตรียมความพร้อมในการเข้าค่ายพักแรม
ของลูกเสือ- เนตรนารี
  

จัดเตรียมหอคอยให้ลูกเสือ - เนตรนารีได้ศึกษา
 
 

   

เศรษญกิจพอเพียง


ดูการสาธิตการทำน้ำส้มควันไม้

การเพาะปลูก
 

ดูงานการปลูกต้นกฤษณา
  

อะไรนี่